อาคารเขียวคืออะไร
อาคารสีเขียว หรือ Green Building คือ อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คนเป็นหลัก ให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการออกแบบอาคาร การก่อสร้าง การใช้งานอาคาร การปรับปรุงอาคาร และการกำจัดวัสดุหลังจากหมดอายุการใช้งานอาคาร โดยมุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
การรรับรองมาตรฐานอาคารเขียว
มาตรฐานอาคารเขียวที่เป็นที่นิยมระดับสากล คือ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) และ WELL Building Standard
LEED คือการรับรองอาคารสีเขียวที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง มีระบบการประเมินที่พัฒนาโดยสภาอาคารสีเขียวของสหรัฐอเมริกา (USGBC) ซึ่งให้ความสำคัญกับอาคารสีเขียวที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติดังนี้
- การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่น
- การลงทุนในสุขภาพ และ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในองค์กร
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เท่าเทียม
- การสนับสนุนระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์
WELL Building Standard คือ มาตรฐานอาคารเพื่อคุณภาพชีวิต ซึ่งแบ่งการรับรองคุณภาพเป็น 4 ระดับ ได้แก่ Bronze, Silver, Gold, และ Platinum โดยมีเกณฑ์การออกแบบสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งหมด 10 ด้าน คือ อากาศดี คุณภาพน้ำดี เข้าถึงโภชนาการที่ดี แสงสว่างเหมาะสม ส่งเสริมการเคลื่อนไหว สภาวะน่าสบาย ควบคุมมลภาวะทางเสียง วัสดุอาคารปลอดภัย สภาพแวดล้อมดีต่อจิตใจ และมีความสอดคล้องกับชุมชน
สำหรับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวของไทย คือ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) เป็นเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ประกอบด้วยเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
- การบริหารจัดการอาคาร
- ผังบริเวณและภูมิทัศน์
- การประหยัดน้ำ
- พลังงานและบรรยากาศ
- วัสดุและทรัพยากรณ์ในการก่อสร้าง
- คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร
- การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- นวัตกรรม
มาตรฐานอาคารเขียว ลดค่าใช้จ่ายและลดผลกระทบแบบยั่งยืน
ในมุมของการบริหารธุรกิจ การรับรองมาตรฐานอาคารเขียวมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยลดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการอาคาร เพราะวัสดุหลักภายในอาคารต้องมีประสิทธิภาพการใช้งาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีระบบจัดการอาคารอัตโนมัติ (Building Automation System หรือ BAS) เพื่อควบคุมระบบสาธารณูปโภค ระบบแสงไฟ ระบบปรับอากาศ และระบบอื่นภายในอาคาร เช่น การปิดไฟในพื้นที่ไม่มีคนอยู่ การปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับปริมาณผู้คนในพื้นที่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยลดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการอาคารได้แบบยั่งยืน
จะเห็นได้ว่าปัจจัยหลักที่ทุกมาตรฐานให้ความสำคัญคือ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันจึงมีการสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Solar Glass นวัตกรรมกระจกพลังงานแสงอาทิตย์ และ เทคโนโลยี IoT ที่เข้ามาช่วยตรวจสอบและควบคุมระบบสาธารณูปโภค
ไอเอฟเอส เราเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจ และสนับสนุนการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เรามีเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอากาศอาคาร ระบบ IoT เซ็นเซอร์ช่วยบริหารจัดการอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือการทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบโซลูชั่นบริการที่เสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจคุณ
สนใจสอบถามบริการ ติดต่อได้ที่
Call Center: 0 2038 5188
Email: info@ifs-thailand.com